ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ
1. คอยล์เย็น (Evaporator) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากบริเวณที่ต้องการปรับอากาศ กับสารทำความเย็น โดยสารทำความเย็นเหลวซึ่งมีความดัน และอุณหภูมิต่ำจะรับความร้อนเข้ามามีผลทำให้สารทำความเย็นเดือดกลายเป็นไอ
2. คอยล์ร้อน (Condenser) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้ไอสารทำความเย็นควบแน่นกลับเป็นสารทำความเย็น ในสถานะของเหลว โดยการระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นเมื่อไอน้ายาสูญเสียความร้อนถึงจุดหนึ่งจะควบแน่นเป็นของเหลว ความร้อนที่ถูกดึงออกจะเท่ากับปริมาณความร้อนที่สารทาความเย็นดูดกลืนจากคอยล์เย็นบวกกับความร้อนที่ได้รับจากการทางานโดยการอัดของคอมเพรสเซอร์
3. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เพิ่มความดันของสารทำความเย็น โดยการดูดและอัด มีผลให้ ความดันและอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้ยังทาให้สารทำความเย็นเกิดการไหลเวียนใน ระบบอีกด้วย โดยปกติคอมเพรสเซอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทำการดูดและอัด น้ำยาโดยเฉพาะ และ น้ำยาหรือสารทำความเย็นที่จะผ่านคอมเพรสเซอร์จะต้องมีสภาพเป็นไอ น้ำยา (สารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นก๊าซ)เท่านั้น ดังนั้นถ้าเมื่อใดก็ตามที่มีน้ายาสภาพเป็นของเหลวไหลผ่านเข้ามาจะเกิดผลเสียหายกับ คอมเพรสเซอร์อย่างแน่นอน
4. อุปกรณ์ลดความดัน (Expansion Valve) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ลดความดันของสารทำความเย็นและควบคุมปริมาณการไหลของสารทำความเย็นก่อนเข้าคอยล์เย็นให้มีปริมาณพอเหมาะ
เครื่องปรับอากาศมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนประกอบภายนอกเครื่อง คือ ส่วนที่เรามองเห็นโดยที่ไม่ได้ถอดชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศและ ส่วนประกอบภายในเครื่อง คือ ส่วนที่จะเห็นเมื่อถอดชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศออก
ส่วนประกอบภายนอก
ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศจะแตกต่างกันตามแบบและรุ่นของเครื่องปรับอากาศนั้นๆ ในหน่วยการเรียนนี้จะอธิบายเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดติดผนัง ดังนี้
1.ฝาครอบเครื่องปรับอากาศมีลักษณะเป็นตะแกรงเพื่อให้อากาศที่ดูดจากใบพัดส่งลมเย็นไหลผ่าน2.แผงกรองอากาศติดตั้งอยู่ด้านหลังฝาครอบเครื่องปรับอากาศ ใช้เพื่อกรองฝุ่น ละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศ เครื่องปรับอากาศบางรุ่นจะมีสารฟอกอากาศอยู่ที่แผงกรองอากาศนี้
3.แผ่นเกล็ดกระจายลมเป็นอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศที่สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางลมขึ้น ลง ด้านซ้าย และด้านขวาได้ เพื่อกำหนดทิศทางของลมเย็นที่ออกมาจากเครื่องปรับอากาศ
4.สวิตช์เปิดและปิดส่วนใหญ่เครื่องปรับอากาศจะเปิดสวิตช์นี้ค้างไว้เพื่อรับคำสั่งการเปิดและปิดจากรีโมทคอนโทรล ดังนั้นสวิตช์เปิดและปิดจึงมักติดตั้งอยู่หลังฝาครอบเครื่องปรับอากาศ
5.ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรลเครื่องปรับอากาศส่วนใหญ่ในปัจจุบันสั่งงานด้วยสัญญาณจากรีโมทคอนโทรลเพื่อให้สะดวกในการสั่งงาน ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรลจึงเป็นอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศที่สำคัญชิ้นหนึ่ง
6.ไฟแสดงการทำงาน ลักษณะไฟจะแตกต่างกันไปตามประเภทและรุ่นของเครื่องปรับอากาศ ปกติแล้วจะมี 3 ดวง คือไฟสีแดงแสดงสภาวะเครื่องทำงาน (Power) ไฟสีส้มแสดงสภาวะในขณะที่คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศไม่ทำงานแต่ใบพัดส่งลมเย็นทำงานอยู่ (Sleep) และไฟสีเหลืองแสดงสภาวะการตั้งเวลาของเครื่องปรับอากาศ (Time)
7.ช่องอากาศออก มีลักษณะเป็นตะแกรงอยู่ที่เครื่องปรับอากาศภายนอกอาคารเป็นช่องระบายอากาศที่ถูกพัดลมดูดอากาศจากอีกด้านหนึ่งพัดผ่านแผงท่อระบายความร้อนออกมา
8.ท่อระบายน้ำทิ้งเมื่อเครื่องปรับอากาศดูดอากาศและความชื้นภายในห้องเข้ามาความชื้นเหล่านั้นจะกลั่นตัวจนกลายเป็นหยดน้ำและถูกระบายออกทางท่อระบายน้ำทิ้ง
ส่วนประกอบภายใน ภายในของเครื่องปรับอากาศจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่สำคัญดังนี้
1.ท่อนำสารทำความเย็น (Refrigerant Pipe) แบ่งออกเป็น 2 ท่อ ทำหน้าที่ ส่งสารทำความเย็นเข้าสู่แผงทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศส่วนที่อยู่ภายในอาคาร และนำสารจากแผงทำความเย็นไปยังคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ภายนอกอาคาร
2.แผงท่อทำความเย็น(Cooling coil) มีลักษณะเป็นตะแกรงติดตั้งอยู่ด้านหน้าของเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร ภายในแผงท่อทำความเย็นจะมีสารทำความเย็นไหลเวียนอยู่เพื่อรับลมจากใบพัดส่งลมเย็นและส่งไปยังแผ่นเกล็ดกระจายลม
3.มอเตอร์(Motor) มีหน้าที่หมุนใบพัดส่งลมเย็นเพื่อให้เกิดแรงลม
4.ใบพัดส่งลมเย็น(Blower) ต่อเชื่อมกับมอเตอร์สำหรับพัดส่งลมเย็นไปยังแผงท่อทำความเย็น
5.คอมเพรสเซอร์(Compressor) ติดตั้งอยู่ที่เครื่องปรับอากาศภายนอกอาคารทำหน้าที่รับสารทำความเย็นที่อยู่ในสภาพเป็นไอจากเครื่องปรับอากาศภายในอาคารและอัดไอจากสารทำความเย็นไปยังแผงท่อระบายความร้อนต่อไป
6.แผงท่อระบายความร้อน(Condensing coil) ต่อเชื่อมกับคอมเพรสเซอร์มีลักษณะเป็นท่อตะแกรง ภายในมีสารทำความเย็นที่ส่งมาจากคอมเพรสเซอร์ไหลเวียนอยู่
7.พัดลมระบายความร้อน(Condensing fan) อยู่ด้านหลังแผงท่อระบายความร้อนทำหน้าที่ดูดอากาศภายนอกอาคารเข้ามาผ่านผ่านแผงท่อระบายความร้อนเพื่อให้สารทำความเย็นเย็นลงและกลั่นตัวกลายเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น